แคลเซียมเป็นธาตุที่พบมาที่สุดในร่างกายซึงเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ในร่างกายคนหนัก 50 กิโลกรัม จะมีแคลเซียมอยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม แคลเซียมมีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายเกือบทุกส่วน และที่สำคัญแคลเซียมมีหน้าที่สร้างกระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกาย สาเหตุการสลายแคลเซียมจากกระดูก ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการสลายตัวของแคลเซียมจากกระดูกจนเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม กาแฟ ชา ช็อกโกแลต ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้น น้ำอัดลมจะมีกรดฟอสฟอริก จะรบกวนกระเพาะและกัดกร่อนกระดูก และทำให้สัดส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสในภาวะปกติของร่างกายคือ 2 ต่อ 1 มีค่าเปลี่ยนไป คือมีฟอสฟอรัสในกระแสเลือดมาขึ้น ทำให้ร่างกายสลายแคลเซียมจากกระดูกเข้ามาสู่ในกระแสเลือดเพื่อปรับสมดุลของเลือด ฮอร์โมนเพศลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียแคลเซียมอย่างมาก ขาดการออกกำลังกาย ไม่ถูกแสงแดด ทำให้ขาดวิตามินดี ซึ่งตัวช่วยใรการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ การขาดวิตามิน ดี มักจะพบในคนที่ได้รับแสงแดดไม่พอหรือใช้สารกันแดดมากเกินไป ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหาร กรดในกระเพาะจะทำให้แคลเซียมแตกตัวและถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นโดยปกติร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณร้อยละ
Category Archives: Article
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose, SMBG) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและเสริมพลัง (empowerment) ให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการดูแลตนเองร่วมกับการให้ความรู้ในด้านอื่นๆ SMBG ทำได้ทุกเวลาโดยการเจาะเลือดปลายนิ้วซึ่งเป็นเลือดจากหลอดเลือดแคปิลลารี (capillary blood) หยดเลือดลงแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา (blood glucose meter) ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการสอนให้ทำ SMBG เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสอนการแปลผลเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมเบาหวาน โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง บ่อยแค่ไหน ผู้ป่วยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ควรตรวจก่อนอาหาร 1 หรือ 2 ชั่วโมง ทั้ง 3 มื้อ และ ก่อนนอน (วันละ 7 ครั้ง) อาจลดจำนวนครั้งลงเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ควรตรวจวันละ 4-6 ครั้ง ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินตั้งแต่
โรคข้อเสื่อม ( OSTEOARTHRITIS ) โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อมีกระดูกงอกอยู่ที่ขอบข้อกระดูกอ่อนที่ผิวข้ออาจลอกหลุดทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการปวดในข้อ ข้อผิดรูปร่าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและรับน้ำหนักไม่ไหว ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม อาการของโรคข้อเสื่อมจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นได้ทุกข้อ อาการปวดมักเริ่มจากอาการปวดตอนเช้า เมื่อบริหารและอาการปวดลดลง หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลงเวลาขยับเกิดเสียงกระดูกเสียดสี ข้อโตขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ เอ็น และเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นทำให้ข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเคลื่อนไหวจะทำให้ปวดมากขึ้น
ความดันโลหิต เป็นค่าความดันที่วัดได้ในหลอดเลือดแดง โดยเกิดขึ้นในช่วงหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย (เรียกค่าความดันซิสโตลิค)และช่วงที่หัวใจคลายตัว (เรียกค่าความดันไดแอสโตลิค) ความดันโลหิตนั้นส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในทางการแพทย์ใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคต่างๆรวมไปถึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงอันตรายของภาวะโรคแทรกซ้อนและความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตผิดปกติโดยความดันโลหิตจะแบ่งเป็น 2 ค่าหลักดังนี้ เมื่อทราบค่าความดันโลหิตจากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐานแล้วสามารถนำค่ามาเทียบกับตารางด้านล่างเพื่อให้ทราบถึงภาวะความดันโลหิต ที่ทางการแพทย์จะนำมาวินิจฉัยว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เข้าข่ายมีควาเสี่ยง หรือเป็นภาวะโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่