การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose, SMBG) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและเสริมพลัง (empowerment) ให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการดูแลตนเองร่วมกับการให้ความรู้ในด้านอื่นๆ SMBG ทำได้ทุกเวลาโดยการเจาะเลือดปลายนิ้วซึ่งเป็นเลือดจากหลอดเลือดแคปิลลารี (capillary blood) หยดเลือดลงแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา (blood glucose meter) ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการสอนให้ทำ SMBG เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสอนการแปลผลเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุของการเกิดโรค

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ

ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง บ่อยแค่ไหน

  1. ผู้ป่วยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ควรตรวจก่อนอาหาร 1 หรือ 2 ชั่วโมง ทั้ง 3 มื้อ และ ก่อนนอน (วันละ 7 ครั้ง) อาจลดจำนวนครั้งลงเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
  2. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ควรตรวจวันละ 4-6 ครั้ง
  3. ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรตรวจก่อนอาหาร 3 มื้อทุกวัน ก่อนนอน และหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เป็นครั้งคราว หากสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกลางดึกหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิด ควรตรวจเลือดในช่วงเวลา 02.00-04.00 น.
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินวันละ 2 ครั้ง ควรตรวจอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยตรวจก่อนอาหารเช้าและเย็น อาจมีการตรวจก่อนอาหารและหลังอาหารมื้ออื่นๆ เพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของระดับน้ำตาลในเลือด และใช้เป็นข้อมูลในการปรับยา
  5. ควรตรวจเมื่อสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและหลังจากให้การรักษาจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ
  6. ควรตรวจก่อนและหลังออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การขับรถ
  7. ในภาวะเจ็บป่วยควรตรวจอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือก่อนมื้ออาหารเพื่อค้นหาแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินควร
  8. ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งฉีดอินซูลินก่อนนอน ควรตรวจก่อนอาหารเช้าทุกวันหรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงที่มีการปรับขนาดอินซูลน อาจมีการตรวจก่อนและหลังอาหารมื้ออื่นๆสลับกันเพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด

 

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

     การวินิจฉัยโรคเบาหวาน ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ สามารถตรวจระดับพลาสมากลูโคสเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก.-ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. การตรวจระดับพลาสมากกลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) มีค่า ≥ 126 มก./ดล. เหมาะสำหรับคนทั่วไปที่มาตรวจสุขภาพ และผู้ที่ไม่มีอาการ
  3. การตรวจความทนต่อกลูโคส (75กรัม Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ถ้าระดับพลาสมากลูโคส 2 ชั่วโมง หลังดื่มน้ำตาล 200 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

วิธีนี้มักใช้ในงานวิจัย เนื่องจากผลการตรวจมีความไว(sensitivity) แต่ความจำเพาะ(specificity) ไม่ดีนัก อาจคลาดเคลื่อนได้

การแปลผลระดับพลาสมากลูโคสและ A1C เพื่อการวินิจฉัย

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองจะให้ประโยชน์เมื่อมีการทบทวนความถูกต้องของวิธีการตรวจข้อมูล รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดกับแพทย์หรือทีมงานเบาหวาน เพื่อความเช้าใจและการปรับเปลี่ยนการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองควรนำจดบันทึกผลมาให้ทีมผู้ดูแลพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาด้วยทุกครั้งที่มาติดตามการรักษา

อ้างอิงจาก : แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560